มะพร้าว
ยินดีต้อนรับ
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ประโยชน์
ประโยชน์ และ ส่วนต่างของมะพร้าว
มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- น้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้ น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำ วุ้นมะพร้าว ได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
- จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
- จาวมะพร้าว ใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
ส่วนต่างๆของมะพร้าว
- ช่วยกำจัดริ้วรอยของครกหินที่ซื้อมาใหม่ ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวที่ใช้คั้นกะทิตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น ใส่ลงไปในครกแล้วตำเนื้อมะพร้าวจนละเอียด ให้น้ำมันจากเนื้อมะพร้าวออกมาสัมผัสกับผิวครกไปเรื่อย ๆ ประมาณสิบนาที แล้วทิ้งไว้อย่างนั้นประมาณ 1 คืนเพื่อให้น้ำมะพร้าวซึมเข้าตามริ้วรอยของเนื้อครก ก้นครกก็จะลื่นเป็นมันดูสดใสใช้งานได้อย่างคล่องมือ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
- มารดาที่เพิ่งคลอดบุตรแต่ไม่มีน้ำนมเพียงพอ ก็สามารถให้บุตรกินน้ำมะพร้าวแทนน้ำนมแม่ได้ชั่วคราวได้ เพราะน้ำมะพร้าวมีกรดลอริกที่มีอยู่มากในน้ำนมแม่นั่นเอง แถมยังมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตรายต่อเด็กทารก (น้ำมะพร้าว)
- ผู้ที่เป็นสิวหรือมีประจำเดือนติดต่อกันไม่หยุดให้ดื่มน้ำมะพร้าว จะช่วยทำให้ร่างกายขับของเสียออกมาได้มากยิ่งขึ้น (น้ำมะพร้าว)
- มะพร้าว ประโยชน์ใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชูได้ (น้ำมะพร้าว)
- ยอดอ่อนมะพร้าว หรือ “หัวใจมะพร้าว” (Coconut’s heart) ซึ่งมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนจะทำให้ต้นมะพร้าวตายทั้งต้น (ต้องโค่นกันเลยทีเดียว) โดยนำไปใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว รวมไปถึงยำยอดอ่อนมะพร้าว หรือ “สลัดเจ้าสัว” (Millionaire’s salad)
- น้ำมะพร้าวนำไปแปรรูปเป็นวุ้นมะพร้าวได้ ด้วยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว (น้ำมะพร้าว)
- มะพร้าวอ่อน นอกจากรับประทานสดแล้ว ยังนำมาทำเป็นวุ้นมะพร้าว มะพร้าวเผา ส่วนประกอบในอาหารคาวหวาน เป็นต้น
- มะพร้าวแก่ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคั้นกะทิสด กะทิกล่อง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง น้ำมันมะพร้าว รวมไปถึงน้ำมันไบโอดีเซลด้วย เป็นต้น
- เนื้อในของมะพร้าวแก่ ใช้ทำเป็นกะทิ ด้วยการขูดเนื้อเป็นเศษ ๆ แล้วบีบคั้นเอาน้ำกะทิออก (เนื้อมะพร้าว)
- กากที่เหลือจากการคั้นน้ำกะทิ สามารถนำไปใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย (กากมะพร้าว)
- กาบมะพร้าวหรือเปลือกมะพร้าว คุณสมบัติแข็งแรง คงทน ยืดหยุ่น มีสปริง นำมาใช้ทำเชือก พรม กระสอบ แปรง อวน ไม้กวาด และเส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์ เป็นต้น
- ใยมะพร้าวนำไปใช้ยัดฟูกเพื่อทำเป็นเสื่อได้ หรือจะนำไปใช้ในการเกษตรก็ได้เช่นกัน (ใยมะพร้าว)
- จั่นมะพร้าวหรือช่อดอกมะพร้าว อุดมไปด้วยฟรุกโตส ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผึ้งและแมลงนานาชนิด จึงได้มีการนำน้ำหวานส่วนนี้มาทำเป็นน้ำตาลเพื่อใช้ปรุงอาหารคาวหวาน หรือทำเป็นน้ำตาลสดไว้เป็นเครื่องดื่มเพิ่มพลังก็ได้
- จาวมะพร้าวนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้
- จาวมะพร้าวช่วยกระตุ้นการเจริญเติบของพืชที่ปลูกได้ เพราะมีฮอร์โมนออกซิน ซึ่งเมื่อนำไปคั้นก็จะได้น้ำไว้สำหรับรดต้นพืชที่ปลูก
- ใบมะพร้าวนิยมนำมาใช้สานเป็นภาชนะใส่ของ ห่อขนม สานหมวกกันแดดหรือเครื่องเล่นเด็ก กระจาด กระเช้า ตะกร้า ทำของที่ระลึกรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
- ก้านใบมะพร้าวหรือทางมะพร้าว นำมาใช้ทำเป็นไม้กวาดทางมะพร้าว เสวียนหม้อหรือก้นหม้อ เครื่องประดับข้างฝา พัด ภาชนะปักดอกไม้ กระเป๋า กระจาด เป็นต้น
- รกมะพร้าวหรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบ ๆ บาง ๆ มีความยืดหยุ่น (แต่ขาดง่าย) นิยมนำมาทำเป็นกระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ ดอกไม้ประดิษฐ์ กล่องใส่ของ สิ่งประดิษฐ์ใช้ตกแต่งงานศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น
- กะลามะพร้าวนิยมนำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระบวย กระดุม ซออู้ โคมไฟ เครื่องประดับ เครื่องดนตรี ที่วางแก้วน้ำ ที่เขี่ยบุหรี่ รวมไปถึงทำเป็นถ่านหุงต้ม ถ่านกัมมันต์ น้ำควัน และถ่านสำหรับป้องกันมอดแมลงก็ได้เช่นกัน และอีกสารพัด (ที่อาจารย์สั่งให้ทำส่งเพื่อแลกกับคะแนน)
- รากมะพร้าวมีเส้นยาว เหนียวเป็นพิเศษ ใช้สานเป็นตะกร้า ถาด ภาชนะต่าง ๆ และสิ่งประดิษฐ์ทั่ว ๆไป
- ลำต้น เมื่อถูกโค่นทิ้งแล้วสามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ทำรั้ว ฝาผนัง กระถางต้นไม้ ตกแต่งสวน เป็นต้น
สรรพคุณ
- ประโยชน์น้ำมะพร้าว จะช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ขาวนวลขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ (น้ำมะพร้าว)
- น้ำมะพร้าวมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
- ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว มีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
- ในเนื้อและน้ำมันมะพร้าวอ่อนมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี วิตามินบี กรดอะมิโน ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และยังมีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ภายใน 5 นาที (น้ำมะพร้าว)
- น้ำมะพร้าวมีประโยชน์ใช้เป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคไต)
- น้ำมะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยดับร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
- น้ำมะพร้าวอ่อนมีคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น ช่วยล้างพิษ ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย หรือช่วยดีท็อกซ์นั่นเอง (น้ำมะพร้าว)
- ประโยชน์ของมะพร้าว ช่วยบำรุงร่างกาย (เนื้อมะพร้าว)
- ช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่ร่างกายมีความเป็นกรดสูง เพราะน้ำมะพร้าวมีความเป็นด่าง ทำให้กลไกการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นปกติแส่งผลให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง (น้ำมะพร้าว)
- ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)
- ใช้เป็นเครื่องดื่มธรรมชาติที่ให้เกลือแร่ได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับนักกีฬา เนื่องจากอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียม (น้ำมะพร้าว)
- ช่วยแก้กระหายน้ำ (น้ำมะพร้าว, เนื้อมะพร้าว, ดอก)
- น้ำมะพร้าวลดบวม ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (น้ำมะพร้าว)
- น้ำมะพร้าวมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค จึงนำไปใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดแบบผิดปกติ (น้ำมะพร้าว)
- ประโยชน์ของน้ำมะพร้าวอ่อน ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง เนื่องจากมีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและช่วยรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้มะพร้าวแก่ขูดเอาเนื้อมาคั่วให้เหลือง โรยเกลือเล็กน้อย ใส่ภาชนะปิดให้แน่น แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ช้อนแกง เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ 10 วันจะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลลดลงเรื่อย ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวปวดศีรษะได้ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- นำมาใช้รักษาโรคคอตีบได้ (เปลือกหุ้มรากของมะพร้าว )
- ช่วยแก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย นำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงไว้ดื่มเช้าและเย็น อาการอักเสบก็จะค่อย ๆ หายไปเอง (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยแก้อาการระคายเคืองตา ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวอ่อนสด ๆ แปะที่ดวงตา อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง (เนื้อมะพร้าว)
- ช่วยลดอาการไข้สูง ตัวร้อน เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นจึงช่วยทุเลาอาการไข้ได้ (น้ำมะพร้าวอ่อน, เนื้อมะพร้าว)
- ใช้รักษาคนไข้ที่มีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาจั่นมะพร้าว ที่ยังมีกาบหุ้มอยู่นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น อาการจะค่อยดีขึ้น (บางคนใช้รากก็ได้ผลเหมือนกัน)
- ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนในช่วงเช้าและช่วงบ่าย (รับประทานเนื้อด้วย)
- ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวห้าว (น้ำมะพร้าวห้าว)
- ช่วยแก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ด้วยการอมน้ำกะทิสด ๆ จากมะพร้าวแก่ประมาณ 5-10 นาที ประมาณ 3 วันแผลจะหายเร็วขึ้น (น้ำกะทิสด)
- ใช้แก้อาการเจ็บฟัน ด้วยการใช้เปลือกต้นสดนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้าแล้วนำมาสีฟัน (เปลือกต้นสดมะพร้าว)
- ใช้เป็นยาแก้อาการเจ็บปากเจ็บคอ (ดอก)
- รากใช้อมบ้วนปากแก้อาการเจ็บคอ (ราก)
- ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วยการใช้มะนาว 1 ซีกบีบผสมกับน้ำมะพร้าวอ่อนแล้วดื่ม (น้ำมะพร้าวอ่อนผสมมะนาว)
- สำหรับผู้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกันให้ดื่มน้ำมะพร้าว จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้เร็ว ทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้ (น้ำมะพร้าว)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป แล้วรองเอาน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมาเก็บใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด แล้วใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมันที่ได้อุดรูฟันที่ปวด แต่อย่าให้สัมผัสกับเหงือกหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆโดยตรง เพราะจะทำให้ชาได้ (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- ประโยชน์มะพร้าว ช่วยกล่อมเสมหะ (ดอก)
- ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (น้ำมะพร้าว)
- สรรพคุณน้ำมะพร้าวช่วยรักษาโรคกระเพาะ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ใช้แก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้รากล้างสะอาดประมาณ 3 กำมือ ทุบพอแตก ต้มน้ำ 5 แก้ว เคี่ยวเอา 2 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น (ดอก, ราก, กะลา)
- ช่วยแก้โรคบิด ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้น (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกมะพร้าวมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น (ควรใช้เปลือกมะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่)
- ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้กะลามะพร้าวสะอาดมาเผาไฟจนแดง แล้วคีบเก็บไว้ในปี๊บสะอาด ปิดฝาให้เรียบร้อย จะได้ถ่านกะลาสีดำ นำมาบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (กะลา)
- ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียจากอาการท้องเสียท้องร่วงได้ ช่วยเติมพลังหลังการเสียเหงื่อ เสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำมะพร้าวอ่อน, เนื้อมะพร้าว, ราก)
- น้ำมะพร้าว สรรพคุณช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยแก้นิ่ว ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้นมาก (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- ช่วยรักษาโรคตับและไต (ยังไม่ยืนยัน)
- ช่วยรักษาโรคดีซ่าน ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น เพียง 2 วันอาการก็จะดีขึ้นมาก (น้ำมะพร้าว)
- ใช้ถ่ายพยาธิได้ (น้ำมะพร้าว, เนื้อมะพร้าว)
- ช่วยบำรุงและแก้อาการปวดกระดูกและเอ็น (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อักเสบ ช้ำบวม ด้วยการใช้น้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีล้างให้สะอาดสับเคี่ยวเข้าด้วยกัน ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อให้มีกลิ่นหอมและช่วยให้ตัวยาแทรกซึมได้ดีขึ้น เสร็จแล้วนำมานวดบริเวณที่มีอาการ (น้ำกะทิเคี่ยว)
- ช่วยแก้อาการเม็ดผดผื่นคันตามตัว ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นประจำ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
- สรรพคุณของมะพร้าว สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดแผลเป็น ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลาเผาไฟถ่าน นำมาทาที่แผล จะทำให้แผลหายเร็วภายในไม่กี่วัน และจะไม่เกิดรอยแผลเป็น (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการเอากะลามะพร้าวมาถูตะไบเอาผง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใส่พิมเสนเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณแผลเช้า กลางวัน เย็น
- ใช้ทาแก้ผิวหนังแตกลาย (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- ใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่ขูดแล้ว มีรู มาใส่ถ่านไฟแดง ๆ น้ำมันมะพร้าวจะไหลออกมา แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นทิ้งไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ยางจะติดอยู่ เกลื้อนจะค่อย ๆ หายไป (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- สรรพคุณมะพร้าว ช่วยรักษาเล็บขบ ฝ่ามือแตกลาย ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเผากะลามาทาเช้า กลางวัน เย็น หรือหยอดบริเวณที่เป็นเล็บขบ จะหายเร็วขึ้นและไม่มีอาการปวด (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
- ช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส ด้วยการใช้ใบมะพร้าวต้มน้ำดื่ม (ใบมะพร้าว)
- ใช้ทาแก้หิด (เปลือกต้นสดมะพร้าว)
- ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้มะพร้าวกะทิปิดบริเวณแผล (มะพร้าวกะทิ)
- ในไต้หวันและจีน นิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยลดอาการเมา แก้อาเจียนหลังการดื่มแอลกอฮอล์ (น้ำมะพร้าว)
- ช่วยแก้พิษเบื่อเมา ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวซึ่งจะช่วยล้างพิษที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าวอ่อน)
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าวต่อ 100กรัม
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าวต่อ 100กรัม
- พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม
- น้ำตาล 6.23 กรัม
- เส้นใย 9 กรัม
- ไขมัน 33.49 กรัม
- โปรตีน 3.33 กรัม
- วิตามินบี 1 0.66 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 3 0.54 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม 20%
- วิตามินบี 6 0.05 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม 19%
- ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม 16%
- ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม 12%
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าวต่อ 100 กรัม
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าวต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 79 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม
- น้ำตาล 2.61 กรัม
-
เส้นใย 1.1 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- โปรตีน 0.72 กรัม
- วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 3 0.08 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี 6 0.032 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
เส้นใย 1.1 กรัม
การเพาะปลูกมะพร้าว
การเพาะปลูก
การคัดเลือกสวนพันธุ์ เป็นสวนที่ปลูกมะพร้าวพันธุ์เดียวกัน ขนาดสวนไม่น้อยกว่า 10 ไร่ อยู่ในแหล่งที่มีการปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ ต้นมะพร้าวมีขนาดอายุไล่เลี่ยกัน และควรจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี เป็นสวนที่มีการดูแลปานกลาง และมีต้นที่มีผลดกอยู่เป็นส่วนมาก ไม่มีโรคหรือแมลงระบาด ในกรณีที่อยู่ไกลแหล่งปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ ไม่มีสวนขนาดใหญ่อาจคัดเลือกเพียงบาง หลักการเท่าที่จะทำได้ หรือคัดเลือกเป็นต้น ๆ ก็ได้ การคัดเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นที่อยู่ในบริเวณกลาง ๆ สวน ให้ผลดกไม่น้อยกว่า 60 ผล/ต้น/ปี ควรมีการจดบันทึกการให้ผลของต้นที่คิดว่าจะใช้เป็นต้นพันธุ์ก่อนสัก 3-4 ปี เพื่อให้แน่ใจว่า ให้ผลดกจริง โดยทาสีไว้ที่ต้นเป็นที่สังเกตหรืออาจทำเครื่องหมายอย่างอื่นก็ได้ เป็นต้นที่ไม่อยู่ใกล้บ้าน คอกสัตว์หรือในที่ที่ดีกว่าต้นอื่น ลำต้นตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปวงกลม หรือครึ่งวงกลม มีจำนวนทาง (ใบ) มาก โคนทางสั้นและใหญ่ มีจั่นอย่างน้อย 10 จั่น กระจายอยู่รอบต้น และทุกจั่นมีผลขนาดต่าง ๆ กันติดอยู่ ทะลายควรนั่งทางก้านทะลายสั้นและใหญ่ เป็นต้นที่มีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ให้ผลมีลักษณะกลมขนาดใหญ่ เส้นรอบของกะลาไม่ต่ำกว่า 45 ซม. เนื้อหนาเปลือกไม่หนาหรือบางเกินไป
การคัดเลือกผลพันธุ์ ผลมะพร้าวแม้จะเก็บจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วก็ตาม อาจมีบางผลที่มีลักษณะ ไม่เหมาะจะนำไปเพาะทำพันธุ์ เช่น ผลแตกระหว่างเก็บเกี่ยว มีโรคแมลงทำลาย จึงควรคัดเลือกผลก่อนนำไปเพาะ ซึ่งมีลักษณะการพิจารณาดังนี้ เป็นผลที่ได้รับความกระทบกระเทือนน้อย จึงควรเก็บโดยใช้เชือกโยงลงมา หรือโยนลงน้ำ ผลโตได้ขนาด รูปผลค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะตรงตามพันธุ์ ผลแก่จัด เปลือกมีสีก้ามปู หรือสีน้ำตาล มีลักษณะคลอนน้ำไม่มีโรคแมลงทำลาย
การเตรียมผลพันธุ์ก่อนเพาะ ปาดเปลือกทางด้านหัวออกขนาดประมาณเท่าผลส้มเขียวหวานเพื่อให้น้ำซึมเข้าได้สะดวกใน ระหว่างเพาะ และช่วยให้หน่องอกแทงออกมาได้ง่าย ถ้าเป็นผลที่ยังไม่แก่จัด เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง ให้นำไปผึ่งไว้ในที่ร่มโดยวางเรียงให้ รอยปาดอยู่ด้านบน ผึ่งไว้ประมาณ 15-30 วัน จนเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เตรียมผลพันธุ์ไว้ประมาณ 2 เท่าของจำนวนหน่อที่ต้องการเพราะในขณะเพาะจะมีพันธุ์ที่ไม่ งอกและเมื่องอกแล้วก็ต้องคัดหน่อที่ไม่แข็งแรงออก
การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง ใกล้แหล่งน้ำและมีการระบายน้ำดี ไม่เป็นแหล่งที่เคยมีโรคและแมลงระบาดมาก่อน พื้นแปลงควรเป็นทรายหยาบ เพื่อสะดวกในการเพาะและย้ายกล้า ปราบวัชพืชออกให้หมด ถ้าพื้นดินเป็นดินแข็งควรไถดินลึก 15-20 ซม. ถ้าแปลงกว้างมาก ควรแบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวตามความต้องการ เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 ซม. ในแต่ละแปลงย่อยขุดเป็นร่องลึกประมาณ 10 ซม.กว้างเท่าขนาดของผลมะพร้าว ยาวตลอด พื้นที่ แต่ละแปลงจะเพาะมะพร้าวได้ 10 แถว
วิธีการเพาะ วางผลแมวพร้าวตามแนวนอนลงในร่องที่เตรียมไว้ หันด้านที่ปาดขึ้นข้างบนเรียงไปตามทิศ ทางเดียวกัน ให้แต่ละผลติดกันหรือห่างกันไม่เกิน 5 ซม. กลบทรายหรือดินให้ส่วนของผลมะพร้าวโผล่พ้นผิวดินประมาณ 1/3 ของผล
ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยสังเกตจากความชื้นตรงบริเวณรอยปาด คอยดูแลกำจัดวัชพืช โรค-แมลงต่าง ๆ
หลังจากเพาะแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์หน่อจะเริ่มงอก ในระยะแรก ๆ จะงอกน้อย เมื่อเลย 4 สัปดาห์ไปแล้วหน่อจะงอกมากขึ้น มะพร้าวที่ไม่งอกภายใน 10 สัปดาห์ หรือ 70 วัน ควรคัดทิ้ง หรือนำไปทำมะพร้าวแห้ง เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้งอกก็จะได้หน่อที่ไม่ดี ตามปกติมะพร้าวจะ งอกประมาณร้อยละ 60 ภายใน 10 สัปดาห์ เมื่อหน่อยาวประมาณ 1-3 นิ้ว ควรย้ายลงแปลงชำ ในการค้าจะไม่ย้ายลงแปลงชำทีละน้อย แต่จะรอย้ายพร้อมกันในคราวเดียว
ในกรณีที่ทำการเพาะมะพร้าวเป็นจำนวนไม่มากนักอาจทำการเพาะโดยไม่ต้องนำลงแปลงชำ ก็ได้ แต่ในการเพาะจะต้องขยายระยะให้กว้างขึ้น โดยวางผลห่างกันประมาณ 45-50 ซม. เพื่อให้หน่อเจริญได้ดี จะได้หน่อที่อ้วนและแข็งแรง เมื่อหน่อมีใบประมาณ 4-6 ใบ ก็คัดไป ปลูกได้
วิธีการชำ เตรียมแปลงชำเช่นเดียวกับแปลงเพาะ แปลงชำควรอยู่ใกล้กับแปลงเพาะ เพื่อสะดวกในการขนย้ายหน่อ ถ้าดินไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยคอกไร่ละ 24 ปี๊บ (240 กก.) หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ ขุดหลุมขนาดเท่าผลมะพร้าว ระยะระหว่างหลุม 60 ซม. อาจวางผังการทำแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า หรือแบบสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้ ย้ายหน่อมะพร้าวจากแปลงเพาะลงชำในหลุมให้หน่อตั้งตรง กลบดินหนาประมาณ 2/3ของผล เพื่อไม่ให้ดินทับส่วนคอของหน่อพันธุ์ ใช้ทางมะพร้าวหรือหญ้าแห้งคลุมแปลง (อาจใช้วัสดุอื่นก็ได้) เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสภาพพื้นดิน พื้นที่ปลูกมะพร้าวในประเทศไทยไม่ควรสูงกว่าระดับน้ำทะเลเกิน 100 เมตร ปลูกได้ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียวจัด แต่ในดินร่วนจะมีการระบายน้ำดีทำให้รากเจริญเติบโตเร็ว หน้าดินควรลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร และน้ำใต้ดินไม่สูง เพราะอาจทำให้เหี่ยวเฉาและผลอ่อนร่วงหล่นได้ ความเป็นกรดเป็นด่างของดินควรอยู่ระหว่าง 6.4 – 7.0 และมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลาง
ดินที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าวมี 6 ชนิดคือ
1. ดินใกล้ฝั่งแม่น้ำ
2. ดินใกล้ปากน้ำติดทะเลเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน
3. ดินตามเกาะต่างๆ
4. ดินชายทะเลซึ่งส่วนมากหน้าดินเป็นดินทราย
5. ดินเลนที่ขุดลอกจากสันดอน
6. ดินบนคันนา
สภาพอากาศ ถึงแม้มะพร้าวจะสามารถเจริญเติบโตและให้ผลในสภาพลมฟ้าอากาศแทบทุกประเภท แต่หากจะปลูกเป็นการค้าก็ควรจะเลือกปลูกในสภาพที่มะพร้าวจะให้ผลผลิตสูง ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวเป็นดังนี้
ฝน มะพร้าวเจริญเติบโตให้ผลผลิตดีเมื่อได้รับน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ 1500 – 2000 มิลลิเมตรต่อปีและไม่ควรได้รับน้ำน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรติดต่อกันนาน 3 เดือน ผู้ปลูกมะพร้าวในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงนิยมขุดร่องสวนเพื่อให้มะพร้าวมีน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอตลอดปี ทั้งยังช่วยป้องกันน้ำท่วมรากหากฝนตกชุกเป็นเวลานาน
ลม ลมพัดอ่อนๆ จะช่วยให้มะพร้าวเติบโตได้ดีเพราะเพิ่มการคายน้ำและเร่งการดูดธาตุอาหารและน้ำจากดิน ทั้งยังช่วยในการผสมเกสร แต่ถ้าลมแรงเกินไปอาจทำให้ยอดบิดหักและตายได้ มะพร้าวที่ปลูกใหม่จะชะงักการเจริญเนื่องจากรากยังไม่ยึดดินแน่นเท่าที่ควร
แสง มะพร้าวต้องการแสงแดดสม่ำเสมอประมาณ 2000 ชั่วโมงต่อปี หรือไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน หากได้รับแสงแดดน้อยมะพร้าวจะไม่ค่อยออกดอกติดผล หรือติดผลแต่เนื้อบาง อุณหภูมิ มะพร้าวเจริญได้ดีในอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส จะสูงหรือต่ำกว่าก็ไม่ควรเกิน 7 – 8 องศา และอุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน อุณหภูมิที่ต่ำมากจะกระทบกระเทือนการเจริญและผลผลิต
การเลือกที่ปลูกมะพร้าว หลักทั่วไปในการคัดเลือกที่ปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ดิน เป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี สภาพดินเป็นกลาง หรือเป็นกรดเพียงเล็กน้อย pH ระหว่าง 6-7 หน้าดินมีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรตื้นกว่า 2 เมตร
ปริมาณน้ำ ควรมีฝนตกไม่น้อยกว่า 1,300 มม./ปี และตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน ถ้ามีฝนตกน้อยกว่า 50 มม./เดือน เป็นเวลานานติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน ผลผลิตจะลดลง หรือไม่ให้ผลเลย
อุณหภูมิ ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ติดต่อกันหลาย ๆ วัน มะพร้าวจะให้ผลน้อย อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 27 + 7 องศาเซลเซียส ระดับความสูงของพื้นที่ ถ้าปลูกมะพร้าวในที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ มะพร้าวจะไม่ค่อย ออกผล การทำสวนเพื่อการค้าควรเป็นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร
แสงแดด มะพร้าวต้องการแสงแดดประมาณวันละ 7 ชั่วโมง ถ้าปลูกมะพร้าวในที่แสงแดดส่อง ไม่ถึง ต้นจะสูงเร็ว และไม่ค่อยออกผลเนื้อในผลก็จะบาง จึงไม่ควรปลูกมะพร้าวในที่ร่มหรือ ปลูกถี่เกินไป
ระยะปลูก ระยะปลูกเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อจำนวนผลผลิตที่จะได้รับถ้าปลูกถี่เกินไปต้นมะพร้าวจะบังร่มกัน ไม่สามารถจะปรุงอาหารได้อย่างเต็มที่ ต้นสูงชะลูด ออกผลไม่ดก แต่ถ้าปลูกห่างกันมาก จะได้จำนวนต้นน้อย ผลผลิตก็น้อย
หมายเหตุ มะพร้าวต้นเตี้ยควรปลูกไร่ละประมาณ 40-45 ต้น สำหรับพื้นที่ลุ่ม หรือดินเป็นดินหนียว การระบายน้ำไม่ดี ควรยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดไม่น้อยกว่า 50 ซม. ขุดร่องตามความยาวของพื้นที่ สันร่องกว้าง 5 เมตร สำหรับพันธุ์ต้นเตี้ย 8 เมตร สำหรับพันธุ์ต้นสูง คูร่องกว้าง 2 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก ควรเตรียมหลุมในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด 50 X 50 X 50 ซม. แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากหลุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ใบใม้แห้งหรือขยะในหลุม อาจจะใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมแทนการเผาก็ได้ ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้ง หรือดินที่ปลูกเป็นทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวรองก้นหลุมโดยวางกาบมะพร้าวให้ด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นด้านบน วางซ้อนกัน 2-3 ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่นๆ เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1:7 รองก้นหลุม ส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยร็อคฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 2 กระป๋องนม) และใส่ฟูราดาน 1 กระป๋องนม เพื่อป้องกันปลวกกินผลพันธุ์มะพร้าว เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก
วิธีการปลูก ควรปลูกในฤดูฝน ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ให้เป็นหลุมเล็กๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันราทาตรงรอยตัดวางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง ตัดหน่อไปในทิศทางเดียวกัน เอาดินกลบอย่างน้อย 2/3 ของผล เพื่อให้พอดีมิดผลมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้า แต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นก็ควรจะกลบดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยก เหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยง ให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย ปลูกมะพร้าวให้ต้นตั้งตรง มัดหลักยึดต้นกันลมโยก ทำร่มบังแดดให้ในระยะแรกหลังปลูก
การใส่ปุ๋ย แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดิน และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7 การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการของมะพร้าวนั้น ควรได้นำตัวอย่างดินไปเข้าวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย พบว่าในปีหนึ่งๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ ดังนี้
ไนโตรเจน 9.44-14.56 กก.ต่อไร่
ฟอสฟอรัส 4.32-6.40 กก.ต่อไร่
โปแตสเซียม 13.60-20.96 กก.ต่อไร่
ในบรรดาธาตุดังกล่าว โปแตสเซียมมะพร้าวจะดูดไปใช้มากที่สุด ประมาณ 62 % ของโปแตสเซียม ถูกนำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของมะพร้าว
ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด 13-13-21 และปุ๋ยเกรด 12-12-17-2 แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเป็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้น ควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้สัมพันธ์กับอายุมะพร้าว
วิธีการใส่ปุ๋ยฤดูที่เหมาะที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ในช่วงนี้มีความชื้นเพียงพอที่จะช่วยละลายปุ๋ย และรากของมะพร้าวกำลังเจริญเติบโตเต็มที่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี การหว่านปุ๋ยจากการศึกษาพบว่า รากมะพร้าวที่สามารถดูดปุ๋ยได้ดีอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ห่างจากลำต้นภายในรัศมี 2 เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงควรโรยหรือหว่านปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง 2 เมตร โดยรอบแต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคนมะพร้าวเพราะรากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพรวนดินตื้นๆ ลึกประมาณ 10-15 ซม. เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกันการชะล้างนั่นเอง
การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสด ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนเช่น ประเทศไทย อินทรียวัตถุในดินส่วนมากมีน้อยและมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงพวกแบคทีเรียในดินจะเจริญเติบโตได้ดีคอยย่อยและทำลายพวกอินทรียวัตถุได้อย่างรวดเร็ว อินทรียวัตถุจะเป็นตัวช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และสภาพทางฟิสิกส์ของดินดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดี รากของมะพร้าวสามารถชอนไชไปหาอาหารได้อย่างกว้างขวาง การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินสามารถกระทำได้หลายแบบ เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง แล้วทำการไถกลบ หรือใช้วิธีการเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้
การกำจัดวัชพืช ใช้แรงคน โดยการถากด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถไถหญ้า รถไถนาขนาดเล็ก
ปลูกพืชคลุม ใช้พืชตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียม เพอร์ราเรีย หรือ เซ็นโตรมา โดยการปลูกให้ห่างโคนต้นเกินรัศมี 1 วา
ใช้สารเคมี เช่น ไกลโฟเซ็ท(ชื่อการค้าว่า ราวด์-อัพ หรือ คาวบอย) หรือดาลาพอน (ชื่อการค้าว่า คาลาล่า หรือ ดาวพอน ฯลฯ) กำจัดวัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา ใช้พาราควอท (ชื่อการค้าว่า กรัมม้อกโซน กล๊าสโซน เพลนโซน น้อกโซน ฯลฯ)กำจัดวัชพืชล้มลุกต่างๆ เช่น ตีนนก ตีนกา สาบแร้งสาบกา (อัตราและวิธีใช้ตามฉลากยา เวลาใช้ต้องระวังอย่าให้ละอองสารเคมีถูกต้นหรือใบมะพร้าว)
โรคและแมลงในมะพร้าว
แมลงที่เป็นศัตรูพืชกับมะพร้าวคือ ด้วงแรด เป็นแมลงปีกแข็งตัวใหญ่มีสีน้ำตาลเข้ม บนหัวมีนอ เหมือนแรด ตัวแก่กัดกินยอดและใบอ่อนทำให้ด้วงงวงมาวางไข่
สามารถจะป้องกันและกำจัดได้ทั้งในระยะที่เป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย โดยปฏิบัติดังนี้
รักษาสวนให้สะอาด เป็นการทำลายแหล่งวางไข่ เพราะด้วงแรดชอบวางไข่ในกองขยะ กองปุ๋ยหมัก กองเศษไม้ ตอไม้ผุ ฯลฯ ถ้าเห็นใบยอดขาดเป็นริ้วๆแสดงว่าถูกด้วงแรดกัดให้ใช้ตะขอหรือเหล็กแหลมแทง ดึงเอาตัวออกมาทำลาย ใช้สารเคมี เช่น
1. ออลดริน ชนิดน้ำ 5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ราดที่คอมะพร้าวทุก 2 เดือน
2. อโซดริน 3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ราดที่คอมะพร้าวเดือนละครั้ง
3. ออลดริน ชนิดผงคลุกกับขี้เลื่อยในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อขี้เลื่อย 8 กระป๋องนม โรยที่คอมะพร้าวต้นละ 1 กระป๋องนม ทุก 2 เดือน
4. สำหรับต้นมะพร้าวที่มีลำต้นสูงมาก ใช้พวก นูวาครอนหรืออโซดรินฉีดเข้าลำต้น โดยเอาสว่านเจาะลำต้นให้เป็นรูจำนวน 2 รู อยู่ตรงข้ามกัน ใช้เข็มฉีดยาดูดสารเคมี 10 ซีซี ฉีดใส่ในรูที่เจาะไว้ข้างละ 5 ซีซี จะมีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 30 วัน วิธีนี้ห้ามเก็บผลมะพร้าวก่อนครบกำหนดหลังจากฉีดสารเคมีแล้ว อย่างน้อย 30 วัน
ใช้วิธีชีวอินทรีย์โดยธรรมชาติจะมีเชื้อราและเชื้อไวรัสที่สามารถทำลายด้วงแรดได้ทั้งที่เป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย คือ
(1) เชื้อราเขียว Metarhizium anisophiae จะเข้าทำลายตัวหนอนมองเห็นเป็นเส้นใยสีขาวจับกันเป็นก้อนอยู่ที่ผิวภายนอกตัวหนอนต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ถ้าตัวหนอนของด้วงแรดมีลักษณะดังกล่าวควรนำไปใส่ให้กระจายตามกองขยะ กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ตอหรือท่อนมะพร้าวผุๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ของด้วงแรด จะช่วยลดปริมาณด้วงแรดลงได้มาก
(2) เชื้อไวรัส Rhabdiomvirus oryctes หรือที่เรียกกันว่าแบคคูลาไวรัส (Baculavirus) จะเข้าทำลายตัวหนอนมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือ ส่วนท้ายของตัวหนอน (rectum) จะพองโตยื่นออกมาเห็นได้ชัด เมื่อพบหนอนที่มีลักษณะนี้ควรเก็บใส่ไว้ตามแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด จะทำให้ด้วงแรดเป็นโรคแพร่กระจายมากขึ้นปริมาณของด้วงแรดจะลดลง
แมลงอีกชนิดคือ ด้วงงวง มีขนาดเล็กกว่าด้วงแรด เข้าทำลายต้นมะพร้าวโดยการวางไข่ ตามรอยแผลที่มีอยู่แล้ว เช่น แผลที่เกิดจากด้วงแรดกัดทำลายเมื่อไข่ฟักตัวแล้วหนอนก็จะกัดกินส่วนที่อ่อนแล้วเจาะไชเข้าในลำต้น ทำให้ต้นมะพร้าวเหี่ยวเฉาและตายได้
การป้องกันและกำจัด ป้องกันกำจัดด้วงแรดอย่าให้เกิดระบาดทำลายต้นมะพร้าวเพราะแผลที่ด้วงแรดกัดเป็นช่องทางให้ด้วงงวงเข้าไปวางไข่ ระวังอย่าให้ต้นมะพร้าวเกิดบาดแผล เช่น การใช้มีดฟันต้น เพราะด้วงงวงจะเข้าไปวางไข่ตามรอยแผล อย่าปลูกมะพร้าวตื้น เพราะรากจะลอย ด้วงงวงสามารถเข้าไปในรอยเปิดของเปลือกตรงส่วนของโคนต้นที่ติดกับพื้นดินได้ ถ้าพบต้นที่ถูกด้วงงวงทำลาย และต้นยังแข็งแรงอยู่ ให้ใช้ยาคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน หรือ คูราแทร์ 3% G) โรยบริเวณโคนต้น เกลี่ยดินกลบ รดน้ำให้ชุ่ม สารเคมีจะซึมผ่านขึ้นไปจนถึงยอด ฆ่าหนอนที่กินอยู่ภายในได้ และอย่าเก็บผลไปรับประทานภายใน 30 วัน หลังจากใส่สารเคมีแล้ว ต้นที่ถูกด้วงงวงทำลายจนตาย ควรโค่นทิ้งแล้วเผาทำลาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)